ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

1. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นก๊าซและก๊าซเหลว ผลิตภัณฑ์.ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดที่เบามีสภาวะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง ภายใต้ความดัน 1 บรรยากาศ ซึ่งได้แก่ methane ethane propane และ butane

2. น้ำมันเบนซิน (gasoline) ส่วนประกอบ paraffin, aromatic, olefins และ ส่วนผสมจากกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่  – LSR – Catalytic reformat – Catalytic cracked gasoline – Thermally cracked gasoline – Hydro cracked gasoline – Alkylate – Polymerized gasoline – Isomerizes gasoline

สารเติมแต่งที่สำหรับ gasoline – Antiknock compound ใส่เพื่อเพิ่มค่าออกเทน ซึ่งเมื่อก่อนจะใช้สารพวกตะกั่วแต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว จึงหันมาใช้พวก organo-manganese compound แทน – Anti- Oxidant ใส่เพื่อป้องกันการเกิดยางเหนียว – Oxygenates จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำมัน นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มค่าออกเทน – Paint ใส่เพื่อช่วยแยกเกรดของน้ำมัน – Detergent และ Dispersant จะช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ซึ่งจะเป็นสารพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ วัตถุ

3.น้ำมันก๊าด จะนำไปเป็นน้ำมันจุดตะเกียง ให้ความร้อนในเตา เชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น เป็นต้น

ส่วนประกอบ  – ไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือดในช่วง 150-300C (paraffin, aromativ.naphthene) – สิ่งเจือปนอื่น ๆ เช่น S N Phenol กรดอินทรีย์ Specification • จุดวาบไฟ คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่นำมันสามารถลุกติดไฟได้ • ความถ่วงจำเพาะ ถ้าค่านี้ต่ำจะทำให้น้ำมันยิ่งเบา มีคุณภาพสูงขึ้น • ปริมาณกำมะถัน ซึ่งกำหนดไว้ไม่ควรเกิน 0.2 %wt เพื่อป้องกับการเกิดคราบ • สี เพื่อป้องกันน้ำมันก๊าดไปปลอมปนกับน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว • ความหนืด ควรมีค่าที่เหมาะสมเพื่อการให้เปลวไฟที่สม่ำเสมอ • จุดควัน(Smoke point) เป็นการวัดความสูงของเปลวไฟ ซึ่งควรมีค่าไม่ต่ำกว่า 22 มม.

4. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน แบ่งตามลักษณะเครื่องยนต์ได้ 2 ประเภท คือ เครื่องบินใบพัดกับเครื่องบินไอพ่น

ส่วนประกอบ 1. naphtha ประกอบด้วย – Light naphtha ( C5-71C) – Medium naphtha (71-138C) – Heavy naphtha(138-193 C) 2. Kerosine

Specification • % Vol of aromatic ถ้าค่านี้มากจะทำให้เกิดควันและเขม่าเกาะเครื่องทำให้เสื่อมประสิทธิภาพ • Freezing point เป็นการหาจุดแข็งตัวของน้ำมันเมื่อต้องเผชิญกับอากาศที่เย็น • Flash point • Distillation rang  • % wt sulfur • Smoke point

สารเติมแต่งที่สำหรับ น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน – Antiknock compound – Anti- Oxidant – Anti-Icing เพื่อป้องกันการแข็งตัว – Thermal stability เป็นการทดสอบความทนทานทางความร้อน

5. น้ำมันดีเซล แบ่งตามความเร็วของเครื่องยนต์ได้ 2 ประเภทคือ – น้ำมันดีเซลหมุนเร็วหรือโซล่า – น้ำมันหมุนช้าหรือขี้โล่

ส่วนประกอบ  – Kerosine – น้ำมันแก๊สออยล์ ( light gas oil , heavy gas oil) – Light Vacuum Gas Oil – Thermal Crack Gas Oil – Cat.Crack Light Cydle Oil – Hydrocracking Gas Oil

Specification • Flash point วัดเพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษา • .ความถ่วงจำเพาะ • Viscosity ค่านี้ถ้าสูงมากการฉีดเป็นฝอยจะไม่ดี ทำให้เกิดผลเสียต่อการเผาไหม้ เกิดควันดำ • Pour Point ต้องกำหนดให้สูงเพียงพอ เพื่อการไหลที่ดีเวลาใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ • % wt Sulfur content ถ้ามีมากจะทำให้เกิดการกัดกร่อนของเครื่องยนต์และท่อไอเสียและ มลภาวะทางอากาศ • % Carbon Residue อาจจะทำให้เครื่องยนต์และหังฉีดสกปรก • % wt Ash • Cetane NO.

6. น้ำมันเตา เป็นเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาก โดยจะใช้กับหม้อน้ำและเตาเผา ซึ่งจะมีราคาถูก ให้ความร้อนที่สูง ไม่มีเถ้า

ส่วนประกอบ  – กากที่เหลือจากากรกลั่นสุญญากาศ, การกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง , จากกระบวนการ thermal cracking และ Catalytic cracking – Diluent เช่น น้ำมันดีเซลหรือ น้ำมันก๊าด เพื่อเจือจางให้ความหนืดลดลง – Light Fuel Oil (LFO) – Medium Fuel Oil (MFO) – Heavy Fuel Oil (HFO)

Specification • Viscosity  • Pour Point  • Flash point • % wt Ash • % Carbon Residue

7. น้ำมันหล่อลื่น หน้าที่  1. ให้การหล่อลื่น ลดความหนืและป้องกันการสึกหรอ 2. เป็นตัวกลางนำความร้อนและระบายความร้อนจากจุดที่ร้อนจัด 3. รักษาความสะอาดของเครื่องยนต์

ส่วนประกอบ  พวก Residue crude oil

สารเติมแต่งที่สำหรับ lube oil – สารเพิ่มค่าดัชนีความหนืด – Detergent – Anti-Oxidant – สารลดอุณหภูมิของจุดไหลเท – สารป้องกันการสึกหรอ

Specification • Viscosity  • Pour Point  • Cloud point • Viscosity Index • % wt Ash • การกัดกร่อนของทองแดง

8. ขี้ผึ้งจากปิโตรเลียม ได้จากกระบวนการกำจัดไข แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ – Paraffin wax มีลักษณะเป็นของแข็งมีผลึกขนาดใหญ่ ประกอบด้วย n-paraffin (C18-C36) – Petrolatum มีลักษณะเป็นผลึกที่ละเอียดและเหนียว เป็นพวก iso-paraffin และ cycloparaffin

Specification • Viscosity  • Oil content • Pour Point • Specific gravity

9. ยางมะตอย เป็นสารผสมชนิด Colloid โดยมี asphaltene กระจายตัวอยู่ในน้ำมันซึ่งเรียกว่า maltene มีลักษณะเป็นของแข็งเหนียว และมีอำนาจในการยืดสูง การนำไปใช้ – ทำถนน – งานเคลือบ เช่น การเคลือบท่อ เคลือบโลหะ – ใช้ในการเชื่อมหรือยาต่าง ๆ

Specification • Penetration เป็นการหาความต้านทานของยางมะตอยต่อแรงภายนอก • Softening Point จะเป็นค่าที่บอกถึงความแข็งอ่อนของยางมะตอย • Ductility จะเป็นค่าที่บอกถึงความเหนียวของยางมะตอย • Specific gravity • Flash Point 

สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทนำความรู้ปิโตรเลียม

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=w2iTXuYMUTo&list=PLED35B7E38858D147

สื่อการเรียนการสอนเรื่องกำเนิดปิโตรเลียม

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=3d2glhylYXU

แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม



                  ปิโตรเลียม จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีปัจจัยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยหินต้นกำเนิด (Source Rocks) ซึ่งเป็นหินดินดาน (Shale) เมื่อถูกกดทับมากๆ จนเนื้อหินแน่นขึ้นจะบีบให้ปิโตรเลียมหนีขึ้นสู่ด้านบนไปสะสมอยู่ในหินอุ้มปิโตรเลียม (Reservoir Rock) จากปิโตรเลียมในหินอุ้มนี้หากไม่มีสิ่งใดกีดขวางก็จะซึมเล็ดลอดขึ้นสู่พื้นผิวและระเหยหายไปในที่สุด ดังนั้นการเกิดปิโตรเลียมต้องมีหินปิดกั้นปิโตรเลียม (Cap Rock) มาปิดกั้นไว้ จนเกินเป็น “แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม (Petroluem Trap)” ขึ้น

แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดจากโครงสร้างทางธรณีวิทยา (Structural Trap)
เป็นลักษณะโครงสร้างที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปของชั้นหิน เช่น การพับ (Folding) หรือการแตก (Faulting) หรือทั้งสองอย่างที่เกิดขึ้นกับหินอุ้มปิโตรเลียม (Reservoir Trap) และหินปิดกั้นปิโตรเลียม (Cap Rock) ที่มักจะสะสมน้ำมันไว้ ได้แก่

 

 

1.1 ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ (Anticline Trap) เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้ชั้นหินมีรูปร่างโค้งคล้ากระทะคว่ำหรือหลังเต่า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะไหลขึ้นไปสะสมตัวอยู่บริเวณจุดสูงสุดของโครงสร้างและมีหินปิดกั้นวางตัวทับอยู่ด้านบน โครงสร้างแบบนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำมันได้ดีที่สุด จากสถิติทั่วโลกพบว่า กว่า 80% ของน้ำมันดิบทั่วโลกถูกกักเก็บอยู่ภายใต้โครงสร้างแบบกระทะคว่ำนี้
1.2 ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน (Fault Trap)เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้ชั้นหินเคลื่อนไปคนละแนว ซึ่งทำหน้าที่ปิดกั้นการเคลื่อนตัวของปิโตรเลียมไปสู่ที่สูงกว่า แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมักพบในโครงสร้างกักเก็บชนิดนี้

 

 

1.3 ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างรูปโดม (Salt Dome Trap)เกิดจากชั้นหินถูกดันให้โก่งตัวด้วยแร่เกลือจนเกิดลักษณะคล้ายกับโครงสร้างกระทะคว่ำอันใหญ่ และปิโตรเลียมจะมาสะสมตัวในชั้นหินกักเก็บฯ บริเวณรอบๆ โครงสร้างรูปโดม ตัวอย่างเช่น แหล่งน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย และตอนกลาง ของประเทศโอมาน เป็นต้น

 

 

2. แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมแบบเนื้อหินเปลี่ยนแปลง (Stratigraphic Trap)
โดยอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงของหินอุ้มปิโตรเลียมเสียเอง ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่แนวหินอุ้มปิโตรเลียมดันออกไปเป็นแนวขนานเข้าไปแนวหินทึบ ทำให้เกิดเป็นแหล่งกักเก็บ หรืออาจเกิดขึ้นจากหินอุ้มปิโตรเลียมเปลี่ยนสภาพและองค์ประกอบกลายเป็นหินทึบขึ้นมาก และหุ้มส่วนที่เหลือเป็นแหล่งกักเก็บไว้

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/43165

ปิโตรเลียม คือ อะไร! ??


ปิโตรเลียม (Petroleum) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจากซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันหลายแสนหลายล้านปี มักพบอยู่ในชั้นหินตะกอน (Sedimentray Rocks) ทั้งในสภาพของแข็ง ของเหลว และก๊าซ มีคุณสมบัติไวไฟเมื่อนำมากลั่น หรือผ่านกระบวนการแยกก๊าซ จะได้ผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย และยังสามารถใข้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี พลาสติก และยางสังเคราะห์เป็นต้น

   ปิโตรเลียม..เกิดขึ้นได้อย่างไร?
                  ปิโตรเลียม เกิดจากการทับถมและแปรสภาพของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์นับหลายล้านปี ที่ตกตะกอนหรือถูกกระแสน้ำพัดพามาจมลง ณ บริเวณที่เป็นทะเลหรือทะเลสาบในขณะนั้น ถูกทับถมด้วยชั้นกรวด ทราย และโคลนสลับกันเป็นชั้นๆ เกิดน้ำหนักกดทับกลายเป็นชั้นหินต่างๆ ผนวกกับความร้อนใต้พิภพและการสลายตัวของอินทรีย์สารตามธรรมชาติ ทำให้ซากพืชและซากสัตว์กลายเป็นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่า “ปิโตรเลียม” ดังนั้นเราจึงเรียกปิโตรเลียมได้อีกชื่อหนึ่งว่า “เชื้อเพลิงฟอสซิล”

คุณสมบัติของปิโตรเลียม
                  ปิโตรเลียม หรือน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ที่สำรวจพบในแต่ละแห่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตามองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอน และสิ่งเจือปนอื่นๆ ที่ผสมอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรีย์วัตถุ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปิโตรเลียมและสภาพแวดล้อมของแหล่งที่เกิด เช่น ความกดดันและอุณหภูมิใต้พื้นผิวโลก
น้ำมันดิบ มีสถานะเป็นของเหลว โดยทั่วไปมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป แต่บางชนิดจะมีกลิ่นของสารผสมอื่นด้วย เช่น กลิ่นกำมะถัน และกลิ่นไฮโดรซัลไฟต์ หรือก๊าซไข่เน่า เป็นต้น
ก๊าซธรรมชาติเหลว มีสถานะเป็นของเหลว ลักษณะคล้ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งก๊าซธรรมชาติแต่ละแหล่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับน้ำมันดิบ
ก๊าซธรรมชาติแห้ง มีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/43165

การผลิต

 

          เมื่อเจาะหลุมประเมินผลและยืนยันว่ามีปริมาณน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติมากพอในเชิงพาณิชย์แล้ว วิศวกรก็จะวางแผนเพื่อทำการพัฒนาหลุมให้เป็นหลุมผลิตต่อไปโดยจะวางแผนเพื่อที่จะผลิตให้ได้อัตราการผลิตสูงที่สุด นำน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติขึ้นมาให้ได้มากที่สุด และใช้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำที่สุดเพื่อประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ

           เมื่อผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในระยะเริ่มแรก หลุมจะมีแรงดันตามธรรมชาติดันปิโตรเลียมขึ้นมาจากชั้นหินใต้พื้นโลกด้วยตัวเอง เราจะติดตั้งวาล์วเพื่อควบคุมแรงดันและบังคับการไหลไว้ที่ปากหลุม เมื่อผลิตไประยะเวลาหนึ่งแรงดันตามธรรมชาติจะลดลงเราจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ เข้าช่วยเพื่อเพิ่มแรงดันให้กับหลุม

       เมื่อน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเดินทางผ่านทางท่อจากแท่นหลุมขุดเจาะมายังแท่นผลิตกลาง (Central Processing Platform) ก็จะผ่านเข้าสู่กระบวนการต่างๆ บนแท่นเพื่อแยก น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตก๊าซธรรมชาติของเชฟรอนในอ่าวไทยพบก๊าซธรรมชาติเหลว (condensate) ปนขึ้นมาพร้อมกับก๊าซธรรมชาติด้วยบนแท่นจึงมีกระบวนการเพื่อแยกก๊าซธรรมชาติเหลวด้วยเช่นกัน

        เมื่อผ่านกระบวนการทั้งหมด น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกส่งไปเก็บยังคลังเก็บน้ำมันลอยน้ำบนเรือขนาดใหญ่ (Floating Storage and Offloading Vessel) ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำมันได้หลายแสนบาร์เรลและติดตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กับแท่นผลิตเพื่อรอการขนถ่ายไปยังเรือของผู้ซื้อตามที่ได้วางแผนไว้ ส่วนก๊าซธรรมชาติจะถูกขนส่งผ่านทางท่อใต้ทะเลความยาว 425 กิโลเมตรมาขึ้นฝั่งที่จังหวัดระยองเพื่อนำไปใช ประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อไป

ที่มา : http://www.chevronthailand.com/knowledge/production.asp

การขุดเจาะ

 

             หลังจากที่สำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นความไหวสะเทือน (Seismic Survey) จนรู้แล้วว่าน่าจะมีปิโตรเลียมอยู่ตรงส่วนใดบ้างใต้พื้นทะเล คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายขุดเจาะที่ต้องทำการเจาะ “หลุมสำรวจ” (Exploration Well) โดยใช้วิธีเจาะสุ่มซึ่งเราจะเรียกหลุมชนิดนี้ว่า ‘หลุมแรกสำรวจ’ (Wildcat Well) เพื่อสำรวจหาปิโตรเลียมในบริเวณที่ยังไม่เคยมีการเจาะพิสูจน์เลย จากนั้นเมื่อถึงขั้นตอนของการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจและหาขอบเขตของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เราจะเจาะหลุมที่เรียกว่า “หลุมประเมินผล” (Delineation Well) และหลังจากที่เราแน่ใจแล้วว่ามีแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมในปริมาณที่มากพอในเชิงพาณิชย์ เราจึงเจาะ “หลุมเพื่อการผลิตปิโตรเลียม” (Development Well) เพื่อนำปิโตรเลียมที่สะสมตัวอยู่ใต้พื้นดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป

การขุดเจาะหลุมเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้นเป็นงานที่ท้าทายและมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเราต้องขุดไปที่ความลึกประมาณ 3-4 กิโลเมตรใต้พื้นทะเล ในสมัยก่อนการขุดเจาะหลุม 1 หลุมนั้นต้องใช้เวลากว่า 60 วัน โดยใช้งบประมาณกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อหลุม ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงมาก เพราะหากเราขุดไปแล้วพบปริมาณน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ การลงทุนนั้นก็สูญเปล่า แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาและทันสมัยมากยิ่งขึ้น ระยะเวลาในการขุดเจาะลดลงเหลือเพียง 4-5 วันต่อ 1 หลุม และใช้งบประมาณน้อยลงกว่าเดิม ซึ่งพัฒนาการทั้งทางด้านระยะเวลาการขุดและงบประมาณที่ลดลงนี้เกิดขึ้นจากการที่เชฟรอนไม่เคยหยุดนิ่งที่จะนำความรู้และประสบการณ์จากการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงในการสำรวจและขุดเจาะ รวมถึงลดระยะเวลาในการทำงานลงแต่ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในแต่ละปีเชฟรอนจะเจาะหลุมประมาณ 300-400 หลุม และมีแนวโน้มที่จะเจาะหลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เนื่องจากโครงสร้างของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมในอ่าวไทยเป็นแหล่งเล็ก และมีความความสลับซับซ้อน จึงมีความจำเป็นต้องขุดเจาะหลุมเป็นจำนวนมากเพื่อจัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอในการตอบสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นของประชาชนชาวไทย

ที่มา : http://www.chevronthailand.com/knowledge/drilling.asp

การสำรวจ

 (^),(^)

              การสำรวจปิโตรเลียมของเชฟรอนนั้นจะเริ่มจากการขอสัมปทานเพื่อสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน โดยขั้นตอนของการสำรวจนั้นจะแบ่งออกเป็น การสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อสำรวจหาว่ามีชั้นหินที่เป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมอยู่หรือไม่และอยู่ที่ไหน รวมทั้งเก็บตัวอย่างหินเพื่อการวิเคราะห์หาอายุและสารต้นกำเนิดปิโตรเลียม และ การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เป็นการวัดคลื่นความไหวสะเทือนผ่านชั้นหิน (Seismic Survey) โดยการสร้างคลื่นสะท้อนจากการจุดระเบิดเพื่อให้เกิดคลื่นความสั่นสะเทือนวิ่งไปกระทบชั้นหินใต้ท้องทะเลและใต้ดิน แล้วสะท้อนกลับขึ้นมาบนผิวโลกเข้าเครื่องรับสัญญาณ จากนั้นเครื่องรับสัญญาณจะบันทึกเวลาที่คลื่นความสั่นสะเทือนสะท้อนกลับขึ้นมาจากชั้นหิน ณ ที่ระดับความลึกต่างกัน ซึ่งระยะเวลาที่คลื่นความสั่นสะเทือนเดินทางกระทบชั้นหินที่เป็นตัวสะท้อนคลื่นได้และข้อมูลที่ได้จากการคำนวณจะถูกนำมาเขียนเป็นแผนที่แสดงถึงตำแหน่งและรูปร่างลักษณะโครงสร้างของชั้นหินเบื้องล่างได้ โดยผลธรณีฟิสิกส์ดังกล่าวจะถูกนำมาเขียนบนแผนที่แสดงตำแหน่งและรูปร่างลักษณะโครงสร้างใต้ทะเลเพื่อเราจะได้เลือกโครงสร้างที่เหมาะสมที่สุดเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายสำหรับการเจาะสำรวจต่อไป

ที่มา : http://www.chevronthailand.com/knowledge/survey.asp

กำเนิดปิโตรเลียม

นักโบราณคดีเชื่อว่าประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล พวกชนเผ่าบาบิโลเนียน (Babylonian) เริ่มใช้น้ำมัน ปิโตรเลียม เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้และเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนเป็นชาติแรกที่ทำเหมืองถ่านหินและขุดเจาะบ่อก๊าซธรรมชาติลึกเป็นร้อยเมตรได้ก่อนใคร

น้ำมันประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ หลายชนิดมากมายจนมีคำพูดว่าไม่มีน้ำมันจากบ่อไหนเลยในโลกที่มีการผสมผสานส่วนประกอบได้คล้ายกัน แต่จะเห็นว่าส่วนประกอบกว้าง ๆ คล้ายกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญคือ มีเทน (Methane) เป็นหลักที่เหลือซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าได้แก่ อีเทน (Ethane) โปรเพน (Propane) และบิวเทน (Buthane) ปิโตรเลียมจัดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ได้จากการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์รวมกัน

ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในน้ำมันดิบที่เคลื่อนตัวเข้ามาก่อนถึงโครงสร้างกักเก็บเป็นเวลายาวนานหลายล้านปีซึ่งอาจะเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมน้ำมันจากบ่อต่าง ๆ จึงไม่เหมือนกัน

ตะกอนที่ปนอินทรีย์วัตถุหรือที่จะให้น้ำมันสะสมตัวอยู่ในปัจจุบันนี้คือ ตะกอนที่มีแร่ดินเหนียวอยู่ด้วยมากขณะที่กักเก็บน้ำมันจริง ๆ คือ หินทรายซึงประกอบด้วยแร่เขี้ยวหนุมานเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ก็เป็นหินปูนที่มีแร่แคลไซต์มากหรือพวกหินที่มีรอยแตกมากมาย จึงดูเหมือนว่าน้ำมันเกิดอยู่ที่หนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนเคลื่อนย้ายไปสะสมตัวอยู่อีกที่ซึ่งความจริงการเคลื่อนย้ายตัวของน้ำมันก็มีหลักการคล้าย ๆ กับการเคลื่อนย้ายของน้ำใต้ดินหินทรายที่มีความสามารถยอมให้ของเหลวไหลผ่านสูงกว่าหินดินดานมากขึงยอมให้น้ำมันผ่านเข้ามาได้และที่สำคัญคือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างน้ำมันกับแร่เขี้ยวหนุมานหรือแร่แคลไซต์มีน้อย ว่าน้ำกับแร่ดังกล่าว น้ำมันจึงผ่านไปได้แต่น้ำยังคงยึดเกาะอยู่ น้ำยึดเกาะข้างเม็ดแร่อย่างมากส่วนน้ำมันอยู่ตรงกลางช่องว่างโดยไม่ยอมผสมกันและเบากว่าน้ำมาก ดังนั้นน้ำมันจึงลอยสูงขึ้นมาเจอแหล่งกักเก็บและสะสมตัวอยู่ได้เหนือน้ำใต้ดินและโอกาสที่จะสะสมอยู่ได้ในตะกอนมีเพียง 0.1% ของน้ำมันที่เกิดมา จึงไม่แปลกใจเลยที่พบน้ำมันอยู่ได้มากกว่า 60% ของปริมาณน้ำมันทั้งหมดจากหินตะกอนยุคใหม่ไม่เกิน 2.5 ล้านปีเป็นส่วนใหญ่คือมหายุคนวชีวิน (Cenozoic) ประเทศไทยเราก็เช่นกัน น้ำมันทั้งหมดเกิดอยู่ในหินยุคใหม่ ๆ ทั้งนั้น จากการขุดเจาะน้ำมันพบว่ายิ่งเจาะลึกมากเท่าใด โอกาสที่จะพบน้ำมันก็น้อยลงเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะหินยิ่งลึกมากความพรุนยิ่งน้อยลง อัดตัวกันมากขึ้นและเกิดแรงดันใหม่น้ำมันเคลื่อนไปข้างบนได้มาก

ปริมาณคิดเป็นร้อยละของน้ำมันทั่วโลกที่พบในที่หินกักเก็บที่สำคัญ ซึ่งหินทรายเป็นหินกักเก็บได้ดีกว่าหินปูน

ที่มา:http://www.chevronthailand.com/knowledge/original.asp

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือ อะไร ???


ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)

ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี

ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า “โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ” เป็น “ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร” ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวก
เราเอง

ที่มา:
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/usa_s/global_warming/sec01p01.html